เทคนิคการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย สำหรับคนทั่วไป หากต้องการทดสอบว่าวันนี้ร่างกายของเรามีความพร้อมและฟิตพอที่จะทำกิจกรรมใหม่ๆ ในวันต่อไปได้หรือไม่ เราจะมีอะไรเป็นเครื่องพิสูจน์หรือตรวจวัดหาความฟิตของร่างกายได้บ้าง โดยปกติแล้วความฟิตของร่างกายที่มีการทดสอบกันนั้นจะเกี่ยวข้อกับความแข็งแรงของส่วนประกอบในร่างกาย 3 อย่างซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้ ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ
เทคนิคในการทดสอบความฟิตของร่างกายกัน เผื่อว่าใครทดสอบแล้วไม่ผ่าน จะได้มีเวลาในการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้เกิดความฟิตของร่างกาย ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ไม่เป็นภาระลูกหลาน ครอบครัวและสังคม
เทคนิคง่ายๆ เทคนิคการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ส่วนต่างๆ

การทดสอบความฟิต หรือความแข็งแกร่งของร่างกายนั้น สามารถทดสอบได้เป็นขั้นๆ ตามส่วนต่างๆ ไล่เรียงไปทั้ง 3 ระบบ โดยเริ่มจาก การนั่งกอดอกหลังตรงบนเก้าอี้ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า จากนั้นให้ลุกขึ้นยืนและนั่งลง สลับไปมาต่อเนื่องเป็นเวลา 1 นาที จากนั้นให้ดูอาการที่เกิดขึ้นแยกรายละเอียดการทดสอบได้ดังนี้
- ทดสอบระบบกระดูก ภายใน 1 นาทีที่ลุกนั่ง สามารถทรงตัวอยู่ได้ ไม่เซหรือเวียนศรีษะถือว่ากระดูกแข็งแรง
- ทดสอบระบบกล้ามเนื้อ ภายใน 1 นาทีหากไม่เกิดอาการปวดเกร็ง หรือตึงบริเวณกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อต้นขา และน่อง ถือว่าระบบกล้ามเนื้อสมบูรณ์
- ทดสอบระบบข้อ ภายใน 1 นาทีถ้าไม่เกิดเสียงการเสียดสี เสียงลั่นในข้อเข่า หรือปวดบริเวณข้อเท้า ข้อเข่า ถือว่าข้อต่อสมบูรณ์แข็งแรง
ทั้งหมดนี้หากสอดประสานทำงานร่วมกันได้ดีถือว่า วันนี้คุณมีร่างกายที่แข็งแกร่งและฟิตพร้อมการทำหน้าที่ต่อไปในวันพรุ่งนี้แล้ว
ร่างกายที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลต่อจิตใจที่ดี
หัวใจความฟิตของร่างกาย หรือความแข็งแกร่งของร่างกายนั้นต้องอาสัยระบบการทำงานของร่างกาย 3 ส่วนควบคู่กันไปเสมอได้แก่ระบบกระดูกที่คอยพยุงโครงสร้างของร่างกายทั้งหมด ระบบข้อต่อที่ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายตามทิศทางทางต่างๆ ได้เป็นอย่างดีและไม่สับสน สุดท้ายคือระบบกล้ามเนื้อที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวภายใต้โครงสร้างของร่างกายทำได้อย่างรวดเร็วทั้งจำนวนครั้งและทิศทาง ทั้งหมดต้องสอดประสานกันเป็นอย่างดี
บททิ้งท้ายของการทดสอบสมรรถภาพทางร่ายกาย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ความแข็งแกร่งของร่างกายหรือความฟิตของร่างกายนั้น เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของระบบการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อและข้อภายในร่างกาย ทั้งสามส่วนนี้ต้องทำงานสอดประสานกันตลอดเวลา หากส่วนใดส่วนหนึ่งด้อยค่าอ่อนกำลังลง ส่วนที่เหลือก็ไม่สามารถทำงานได้ร้อยเปอเซ็นต์ และที่สุดแล้วก็จะพังลงทั้งหมด ดังนั้น การดูแลให้ร่างกายปกติสมบูรณ์ดี จึงต้องดูแลทั้งหมดทุกระบบของร่างกาย ไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้นั่นเอง