เทคนิคการเล่นคาราเต้

เทคนิคการเล่นคาราเต้

เทคนิคการเล่นคาราเต้

นับว่าเป็นกิมมิคหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ กีฬาคาราเต้ ที่ไม่มีกีฬาใดในโลกเหมือน คือการขานของกรรมการที่ไม่ว่าจะมาจากชาติไหนก็จะใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลักทั้งการขานคะแนน หรือ การเตือนต่างๆซึ่งเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่ทำให้กีฬานี้เริ่มมีคนสนใจมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจจะเริ่มดู กีฬาคาราเต้ หรือเยาวชนที่ต้องการเป็นนักกีฬาคาราเต้ เพื่อความเข้าใจในกีฬานี้อย่างถ่องแท้ นอกจากทักษะการเล่นหรือกฎกติกาต่างๆที่ควรทราบแล้ว ศัพท์ที่กรรมการใช้ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการเล่นของคาราเต้ที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อป้องกันการปฏิบัติตัวที่อาจไม่สอดคล้องกับคำเตือนนั้นนั่งเอง โดยเริ่มจากคำว่า CHUKOKU (ชู โค คุ ) เป็นการเตือนด้วยวาจาหลังจากผู้เล่นทำผิดครั้งแรกหรือความผิดเล็กๆน้อยๆเช่นการหลบเลี่ยงการตู้สู้ หรือ การเคลื่อนที่ออกเขตนั่นเอง และถ้าหากผู้เล่นกระทำการซ้าสองในความผิดเดิม หรือมีความผิดรุนแรงมากยิ่งขึ้นเช่นการโจมตีที่รุนแรงหรือผิดกติกา กรรมการจะขาน KEIKOKU ( เค โค คุ ) พร้อมถูกตัดคะแนนยกให้คู่แข่ง 1 แต้มหรือ IPPON Point หากมีความผิดที่รุนแรงมากกว่าหรือโนหัก 1 คะแนนมาแล้ว HANSOKU-CHUI ( ฮันโซกุ ชุยะ) จะเป็นสิ่งที่คุณต้องพบเจอ นั่นคือการตัด NIHON Point หรือ  2 แต้ม จะยิ่งทำให้เสียเปรียบคู่แข่งมากขึ้นไปอีก

ผ่านไปแล้วกับศัพท์ที่ควรรู้ในคาราเต้กรณีการกล่าวตักเตือนหรือหักแต้ม แต่มีอีกกรณีหนึ่งซึ่งหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างกรณีการตัดสินแข่ง HANSOKU ( ฮัน โซ กุ ) หลังจากที่รู้จักคำนนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว การที่เรามี HANSOKU-CHUI ติดตัวและไปทำความผิดร้ายแรงเพิ่ม เช่นการจงใจทำร้ายคู่แข่งถึงขั้นบาดเจ็บ HANSOKU ที่กรรมการขานนั้นจะส่งให้นักกีฬาไม่สามรถแข่งต่อไปได้หรือถูกปรับให้แพ้นั่นเอง และโทษสูงสุดของคาราเต้คือ SHIKKAKU (ชิค คา คุ)  นั่นก็คือโทษแบนห้ามแข่งขันในรายการอื่นๆนั่นเอง นี่เป็นเกร็ดความรู้พื้นฐานสำหรับกฎกติกาการเล่นคาราเต้ที่จะช่วยให้คุณดูกีฬาชนิดนี้ได้สนุกมากขึ้น และ สำหรับนักกีฬาก็จะช่วยป้องกันการเสียประโยชน์จากคำเตือนต่างๆระหว่างการแข่งขันได้นั่นเอง

Credit: MThai

Credit: Thaigoodview

Credit: Rositacorrer


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *