เทคนิคมวยไทย ออกอาวุธครบครัน ทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก หนึ่งการต่อสู้ที่ทั่วโลกยอมรับ

เทคนิคมวยไทย ออกอาวุธครบครัน ทั้งหมัด เท้า เข่า ศอก หนึ่งการต่อสู้ที่ทั่วโลกยอมรับ

เทคนิคมวยไทย ออกอาวุธครบครัน กีฬามวยไทย ในปัจจุบันถูกพัฒนามาจากรูปแบบ ศิลปมวยไทย ดั่งเดมเพียงเพิ่มมาตรฐานระบบของการประกบคู่และการออกกฎข้อห้ามการใช้อาวุธบางประเภทที่เสี่ยงอันตรายสูง พร้อมทั้งมีการใช้นวมช่วยในการลดระดับการบาดเจ็บลงมาก ไม่เป็นการต่อสู้เชิงมวยแบบดิบๆ สมัยก่อนที่สามารถใช้การออกอาวุธทุกส่วนของร่างกายที่เรียกว่า  “นวอาวุธ” หมัด, ศอก, เข่า และเท้า ได้แบบดั่งเดิม

 

กีฬามวยไทยระดับสากล

ปัจจุบันมวยไทยมีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณ์เป็นสากลขึ้นแล้วเรียกว่า “สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ” หรือ IFMA ในปี พ.ศ. 2557 ทางองค์การสหประชาชาติหรือ UN ได้ให้การยอมรับมวยไทยเป็นกีฬาแห่งประชาคมโลก โดยได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับสภามวยไทยโลก และสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ

 

กติกามวยไทยสมัยปัจจุบัน

ในปัจจุบันนัก มวยไทย ต้องมีการสวมนวมที่มีขนาดมาตรฐานหนักไม่เกิน 4 ออนซ์ แต่งกายด้วยการสวมกางเกงขาสั้น – สวมกระจับ – สวมปลอกรัดเท้า (ถ้ามี) – เครื่องรางผูกไว้ที่แขนท่อนบนได้ แต่สำหรับเครื่องลางของขลังประเภทอื่นๆ อนุญาตให้สวมใส่ได้ในขณะไหว้ครูเท่านั้นและจะถอดออกด้วยครูมวยเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน

เทคนิคมวยไทย ออกอาวุธครบครัน กรรมการผู้ชี้ขาดบนเวทีจะมีจำนวน 1 คน และกรรมการให้คะแนนข้างเวที 2 คน จำนวนยกในการแข่งขันมีทั้งหมด 5 ยกๆ ละ 3 นาที ช่วงพักระหว่างยกมีเวลา 2 นาที การเปรียบมวยนักชกไทยปัจจุบันตามมาตรฐานสากลจะถูกแบ่งออกตามน้ำหนักตัวของนักชกมีทั้งหมด 19 รุ่น และนักชกสามารถออกอาวุธได้ทุกส่วนโดยไม่จำกัดไม่ว่าจะเป็น หมัด เท้า เข่า ศอก เข้าชก เตะ ถีบ ถอง เป็นต้น

รุ่นของนักชกมวยไทยแบบมาตรฐาน IFMA

สำหรับการเปรียบมวยไทยในปัจจุบัน ตามมาตรฐานของ IFMA แล้วจะแบ่งรุ่นการชกตามน้ำหนักตัวของผู้ชก มีทั้งหมด 19 รุ่น ได้แก่

  1. รุ่นพินเวทน้ำหนักตัวเกิน 93 ปอนด์แต่ไม่เกิน 100 ปอนด์
  2. รุ่นมินิฟลายเวทน้ำหนักตัวเกิน 100 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 105 ปอนด์
  3. รุ่นไลท์ฟลายเวทน้ำหนักตัวเกิน 105 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 108 ปอนด์
  4. รุ่นฟลายเวทน้ำหนักตัวเกิน 108 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 112 ปอนด์
  5. รุ่นซูเปอร์ฟลายเวทน้ำหนักตัวเกิน 112 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 115 ปอนด์
  6. รุ่นแบนตั้มเวทน้ำหนักตัวเกิน 115 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 118 ปอนด์
  7. รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวทน้ำหนักตัวเกิน 118 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 122 ปอนด์
  8. รุ่นเฟเธอร์เวทน้ำหนักตัวเกิน 122 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 126 ปอนด์
  9. รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวทน้ำหนักตัวเกิน 126 ปอนด์ 130 ปอนด์ (967 กิโลกรัม)
  10. รุ่นไลท์เวทน้ำหนักตัวเกิน 130 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 135 ปอนด์
  11. รุ่นซูเปอร์ไลท์เวทน้ำหนักตัวเกิน 135 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 140 ปอนด์  
  12. รุ่นเวลเตอร์เวทน้ำหนักตัวเกิน 140 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 147 ปอนด์
  13. รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวทน้ำหนักตัวเกิน 147 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 154 ปอนด์
  14. รุ่นมิดเดิลเวทน้ำหนักตัวเกิน 154 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 160 ปอนด์
  15. รุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวทน้ำหนักตัวเกิน 160 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 168 ปอนด์
  16. รุ่นไลท์เฮฟวี่เวทน้ำหนักตัวเกิน 168 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 175 ปอนด์
  17. รุ่นฟลายเวทน้ำหนักตัวเกิน 175 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 190 ปอนด์
  18. รุ่นเฮฟวี่เวทน้ำหนักตัวเกิน 190 ปอนด์ แต่ไม่เกิน 200 ปอนด์
  19. รุ่นซูเปอร์เฮฟวี่เวทน้ำหนักตัวเกิน 200 ปอนด์ขึ้นไป

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นกฎ กติกาและรูปแบบการเปรียบมวยไทย ในปัจจุบันที่เป็นกีฬาในระดับโลกแล้วและอีกไม่นานก็จะสามารถเข้าสู่เป็นกีฬาประเภทหนึ่งของโอลิกปิกได้แน่นอน

 

 

#เทคนิคมวยไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *